Go to www.iclicknews.com
Live&Travel

แกะรอย พระนอน@วัดโพธิ์ Amazing Thailand

เรื่อง by BLOGGER นักเดินทาง

         

ฝนปีนี้ตกหนักติดต่อหลายเดือน หลายจังหวัดเผชิญภัยพิบัติทางน้ำ นักเดินทางเลือกหิ้วเป้ไปเที่ยวในเมืองหลวงแทน
กรุงเทพมหานครฯมีสถานที่ท่องเที่ยววาไรตี้ ทั้งวัด วัง ตลาดน้ำ ตลาดบก และอื่นๆ
และทริปนี้เราขอแนะนำ Amazing Thailand ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต้องแวะไปเที่ยวชม นั่นคือ วัดโพธิ์ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมโบราณ ศิลปะ วัตถุโบราณ ศิลปะ วัตถุโบราณ และพระนอนองค์ใหญ่ และยักษ์วัดโพธิ์ ตำนานเล่าเรื่องยักษ์สองวัดที่โด่งดัง ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ยักษ์วัดแจ้ง กับยักษ์วัดโพธิ์
เมื่อเราก้าวเข้าสู่ประตูวัด จุดหมายแรกของนักเดินทาง คือ ไปชมพระนอนองค์ใหญ่ในโบสถ์
"โอ้โฮ " พระนอนองค์ใหญ่มาก
นักเดินทางอดทึ่งไม่ได้กับงานปั้นที่สวยงามอลังการ พระนอนขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ ช่างงดงามจริงๆ
เราต้องเดินไป ถ่ายรูปไป หยุดชมได้ไม่นานนัก เพราะว่านักท่องเที่ยวเยอะมาก เดินเรียงกันมาเป็นทิวแถว
ทั้งชาวไทย เอเชีย ยุโรป มาแบบคนเดียว ครอบครัว หรือหมู่คณะ เข้ามาชมพระนอนกันมากมาย แน่นขนัดในช่วงกลางวัน
แต่ละมุมมีรูปปั้น งานจิตกรรม ประตู ฝาผนัง เพดาน เรื่องราวชาดก ดูแล้วตื่นตาตื่นใจ...
นอกจากนี้หากใครจะทำบุญสตางค์ ก็แวะต่อแถวทำบุญได้ "มีทั้งเด็ก ผู้ใหญ่"
"บาตรเล็กๆเรียงรายให้เราหยอดเหรีญสลึง ห้าสิบสตางค์ พร้อมตั้งจิตอธิษฐานในขณะที่เราเดินไปแต่ละก้าว"
นักเดินทางรู้สึกสบายใจ...มีความสุข เมื่อเราได้ยินเสียงเหรียญที่หยอดกระทบกับบาตรเล็กๆ
เมื่อนักเดินทางทำบุญเรียบร้อย เราก็ยืนชมความงามของภาพจิตรกรรมภายในโบสถ์สักครู่หนึ่ง ก็เดินออกมาด้านนอก เพื่อไปทำบุญร่วมสร้างกระเบื้องหลังคาวัด ที่กำลังซ่อมแซมอยู่ พนักงานในวัดเล่าว่า "ช่วงนี้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยววัดมากขึ้น"
นักเดินทางสังเกตเห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ กำลังตื่นเต้นกับการได้ตีฆ้องในวัด เสียงดังเหง่งหง่าง เป็น Amazing อีกรูปแบบหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีจุดเซลล์ฟี่ และจุดเช็คอิน ที่เป็นไฮไลท์อีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ ความงามของพระปรางค์ที่เรียงรายอยู่เบื้องหน้า งานสถาปัตยกรรมที่งดงามฝีมือช่างไทยโบราณ
วัดโพธิ์ ยังมีอีกหลายเรื่องราวที่น่าประทับใจ คราวหน้านักเดินทางจะพาผู้อ่านไปชมสิ่งมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่ง ที่ใครมาเที่ยววัดโพธิ์ แล้วห้ามพลาด....


ตามรอย วัดโพธิ์

"วัดโพธิ์" เป็นวัดโบราณราษฎรสร้างระหว่าง ปี พ.ศ. 2231-2246 ในรัชกาลพระเพทราชา สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยธนบุรีพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารมหลวงมีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้มีการบูรณะใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2332 ใช้เวลาสร้าง 7 ปี 5 เดือน 18 วัน โปรดเกล้าให้จัดงานฉลองและพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ" เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ต่อมาใน พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์อีกครั้งใช้เวลา 16 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาพระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้ายู่หัวทรงปฏิสังขรณ์พระรัศมีพระพุทธไสยาสน์ และทรงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" ทั้งทรงสถาปนาพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4 ขึ้นในวัดองค์หนึ่งเรียกว่าเจดีย์รัชกาลที่ 4 ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบให้กระทรวงโยธาธิการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ควบคุมการบูรณะปฏิสังขรณ์จนถึงปัจจุบัน การบูรณะใหญ่ครั้งที่ 2 ดำเนินการในสมัยรัชกาลที่ 5 และการบูรณะใหญ่ครั้งที่ 3 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ วัดนี้แบ่งบริเวณออกเป็น 2 ส่วน มีถนนเชตุพนคั่นกลางวัด ดังนี้1. เขตพุทธาวาส ประกอบด้วย พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ ศาลาราย พระพุทธรูปและพระมณฑป 2. เขตสังฆาวาส มีกุฏิพระสงฆ์ แบ่งเป็น 3 คณะ ใหญ่ ๆ คือ คณะเหนือ คณะกลาง และคณะใต้
(ที่มา : กรมศิลปากร)



  --  
iClickNews.com