|
แบงก์บิ๊ก โกย'กำไร ไตรมาสแรก 2023
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รายงานว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลท.รวม 10 แห่ง ได้แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาสแรก ปี 2566 โดยมีกำไรสุทธิรวมอยู่ที่ 60,138 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,130 ล้านบาท หรือ 13.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 53,008 ล้านบาท ทั้งนี้ ธนาคารที่มีผลกำไรมากที่สุดในไตรมาสแรกคือ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCB) อยู่ที่ 10,995 ล้านบาท, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) อยู่ที่ 10,741 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) อยู่ที่ 10,129 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) อยู่ที่ 10,067 ล้านบาท และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) อยู่ที่ 8,676 ล้านบาท
ธนาคารที่มีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมีจำนวน 7 แห่ง โดยธนาคารที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ BBL เพิ่มขึ้น 3,011 ล้านบาท KTB เพิ่มขึ้น 1,287 ล้านบาท BAY เพิ่มขึ้น 1,258 ล้านบาท และธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) (TTB) เพิ่มขึ้น 1,100 ล้านบาท ส่วนธนาคารที่มีผลกำไรสุทธิลดลงมีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ KBANK ลดลง 470 ล้านบาท ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT) ลดลง 231 ล้านบาท และ บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TISCO) ลดลง 2 ล้านบาท
Go To Lead
|
EARTH JUMP 2023 : New Frontier of Growth
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะความยั่งยืนไม่ได้แค่เปลี่ยน Mindset ในการทำธุรกิจ แต่เปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเราทุกคน ความยั่งยืนเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่เร่งปรับตัว จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปยอมจ่ายเพื่อสินค้ารักษ์โลก และจากรายงานของ McKinsey พบว่ามีกลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน จำนวน 11 กลุ่ม เช่น ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจเกษตร และธุรกิจน้ำมันและก๊าซ สามารถสร้างรายได้รวมกันมากกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ต่อปี ภายในปี 2030 เพื่อเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจของทั้งโลกไปสู่ Net Zero ส่วนคนที่คิดว่ายังอีกไกลก็อาจจะเจอความเสี่ยงจากมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่อการค้าระหว่างประเทศที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น CBAM ของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะกลายเป็นข้อจำกัดในการแข่งขันทางธุรกิจ
การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืนนั้นยังต้องการการสนับสนุนอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องเงินลงทุนจำนวนมหาศาลทั้งจากนักลงทุนทั่วไป Venture Capital ธนาคารและสถาบันการเงิน ที่ในอนาคตจะเข้ามามีส่วนช่วยเหลือให้ธุรกิจสีเขียวเหล่านี้เติบโตได้เต็มศักยภาพ ทั้งนี้การแก้ปัญหาเรื่องความยั่งยืนไม่ใช่งานของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล นักลงทุน ภาคธุรกิจ ผู้บริโภค และสถาบันการเงิน ทุกฝ่ายล้วนมีส่วนสำคัญในการช่วยให้โลกใบนี้เปลี่ยนผ่านไปได้ การจัดงานในวันนี้จึงอยากเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกันลงมือทำอย่างจริงจัง หากเราทำสำเร็จเราจะพบดินแดนใหม่ที่สดใสอย่างแน่นอน ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรม JUMP Startup Clinic เพื่อให้คำปรึกษาแก่สตาร์ทอัพที่มองหาโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ โดยมีธุรกิจสตาร์ทอัพเข้ารับคำปรึกษาในงานกว่า 100 ราย และมีนักธุรกิจเข้าร่วมงานสัมมนา EARTH JUMP 2023 : New Frontier of Growth ตลอดทั้งวัน จำนวนกว่า 2,000 คน ธนาคารกสิกรไทยหวังว่างานนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ธุรกิจไทยเดินหน้าคว้าโอกาสก้าวกระโดดเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
Go To Lead
|
BLA-สยามพิวรรธน์ 'ส่ง'แคมเปญลดหย่อนภาษี
นางสาวอรนาฎ นชะพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายกลยุทธ์และบริหารจัดการลูกค้าและผู้มุ่งหวัง บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กรุงเทพประกันชีวิต ให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและสะท้อนคุณค่าผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ในครั้งนี้ กรุงเทพประกันชีวิตก็ได้ร่วมกับสยามพิวรรธน์ในการสร้างสรรค์แคมเปญพิเศษ เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกค้าของทั้งสององค์กร
ด้วยการนำเสนอประกันสะสมทรัพย์ที่คัดสรรมาเพื่อตอบโจทย์สมาร์ทไลฟ์สไตล์ ให้การบริหารการเงินพร้อมสร้างความอุ่นใจในการใช้ชีวิตเป็นเรื่องง่าย ทำได้สะดวก และยังสามารถรับ VIZ Coin เพื่อเติมเต็มประสบการณ์ช้อปปิ้งเหนือระดับ ผ่าน ONESIAM Super App
Go To Lead
|
กรุงไทยแอกซ่า ประกันชีวิต ชูโครงการรักษาอุ่นใจ กลับบ้านไว ไม่ต้องรอแฟกซ์เคลม
บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านประกันชีวิต และยกระดับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ เปิดตัว โครงการรักษาอุ่นใจ กลับบ้านไว ไม่ต้องรอแฟกซ์เคลม (KTAXA IPD Pre Approval) บริการด้านสุขภาพที่ช่วยลูกค้า กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ที่ถือกรมธรรม์สุขภาพ ในการวางแผนการรักษาพยาบาลล่วงหน้ากับโรงพยาบาลชั้นนำและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย โดยมีค่ารักษาพยาบาลในราคาพิเศษแบบเหมาจ่าย สำหรับกรณีผ่าตัดใหญ่และการส่องกล้องกับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการฯ ที่ลูกค้าสามารถทราบผลความคุ้มครอง และค่าใช้จ่ายส่วนเกินก่อนการรักษา และชำระส่วนต่างในวันกลับบ้าน ซึ่งบริการดังกล่าวจะช่วยลดขั้นตอนการรอพิจารณาโดยไม่ต้องรอผลอนุมัติแฟกซ์เคลม (Fax Claim) เพื่อความสะดวกรวดเร็วในวันกลับบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายหลักของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง พร้อมอยู่เคียงข้างทุกความเชื่อมั่น ดูแลกันตลอดไป
สำหรับลูกค้าที่ถือกรมธรรม์สุขภาพของกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ที่และสนใจบริการดังกล่าว หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการรักษาอุ่นใจ กลับบ้านไว ไม่ต้องรอแฟกซ์เคลม สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 1159 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือ https://www.krungthai-axa.co.th/th/health-services/ipd-pre-approval
Go To Lead
|
คปภ.-ขนส่งทางบก 'รุก'ระบบเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัล
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า การทำบันทึกความร่วมมือ (MoU) ระหว่าง สำนักงาน คปภ. และ กรมการขนส่งทางบก เพื่อเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบเพื่อตรวจสอบการจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับและอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ให้กับประชาชนผู้ใช้บริการต่อภาษีรถมากขึ้น โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งหลังจากนั้น ได้มีการเชื่อมระบบตรวจสอบการจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับสำหรับการชำระภาษีรถประจำปี ใน 2 ช่องทาง ได้แก่ ตู้รับชำระภาษีอัตโนมัติ Kiosk และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax รวมถึงแต่งตั้งคณะทำงานการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลตรวจสอบการจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับ ระหว่างกรมการขนส่งทางบกกับสำนักงาน คปภ. เพื่อติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกัน และต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพิ่มเติม โดยมีสมาคมประกันวินาศภัยไทยเข้าร่วมบูรณาการด้วย เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบในส่วนของการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับแบบครบวงจร โดยเป็นการพัฒนาระบบ Web Service ผ่านช่องทาง Leased Line ซึ่งเป็นรูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระหว่างกรมการขนส่งทางบกและสำนักงาน คปภ. มีการเข้ารหัสข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยและรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลการทำประกันภัย ส่งผลให้ประชาชนได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และครบวงจร
ระบบรายงานข้อมูลประกันภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance System : CMIS) เป็นระบบที่มีการรายงานการรับประกันภัยรถภาคบังคับผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทันทีหลังจากมีการรับประกันภัย (real time) โดยได้รับการพัฒนาขึ้นให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น ภายใต้ความมั่นคงปลอดภัยระดับสูง และมีการเชื่อมโยงผ่านระบบ CMIS ของสำนักงาน คปภ. กับระบบ e-Service ของกรมการขนส่งทางบก เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัย 5 ระดับ ได้แก่ การยืนยันตัวตนด้วย (ใบรับรอง อิเล็กทรอนิกส์ : SSL Certification) การยืนยันด้วย (ที่อยู่ อิเล็กทรอนิกส์ : IP Address) การเข้ารหัสด้วย SSL มาตรฐานการเข้ารหัสการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย การเข้ารหัสด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ : Encryption Certification และระบบคุยกันผ่านช่องทางส่วนตัวเพื่อติดต่อกันระหว่าง 2 หน่วยงาน (Private Link) เพื่อให้มั่นใจในระบบดูแลความปลอดภัยไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล
Go To Lead
|
BKI ฟื้นตัวแรง ไตรมาส 1 กำไรพุ่ง 883.7 ล้านบาท
ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1
ของปี 2566 (ม.ค.-มี.ค.) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 7,249.1 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 มีผลกำไรสุทธิจากการรับประกันภัยหลังหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแล้ว 465.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.0 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีผลขาดทุนจากการรับประกันภัย 5,155.8 ล้านบาท เนื่องจากมีการจ่ายสินไหมทดแทนโควิด-19 ของปีก่อน
บริษัทฯ มีกำไรจากการลงทุนสุทธิ 379.1 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 969.2 ล้านบาท ลดลง 590.1 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 60.9 และมีกำไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 844.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.2 และรายได้ภาษีเงินได้ 39.2 ล้านบาท โดยเมื่อรวมรายได้ภาษีเงินได้แล้ว บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 883.7 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 8.30 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขาดทุนสุทธิ 3,580.5 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 124.7
โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งได้ประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 มีมติให้จ่ายเงิน
ปันผลระหว่างกาล สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2566 แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 3.75 บาท ในวันที่ 9 มิถุนายน 2566
บริษัทฯ ได้ดำเนินตามกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ อย่างรอบด้าน พร้อมกับมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่หลากหลาย เหมาะสมกับความเสี่ยงและการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนเเปลงอยู่เสมอ ยกระดับศักยภาพการบริการและเพิ่มการเข้าถึงในทุกช่องทาง ลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และสร้างความเชื่อมั่นด้วยระบบ Cyber Security ที่แข็งแกร่ง รวมถึงขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติให้สอดคล้องกับแนวทาง ESG มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
เเละสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ ด้วยความแข็งแกร่งด้านเงินทุน เงินกองทุน และสินทรัพย์ที่มั่นคง ปรับตัวให้เท่าทันทุกสถานการณ์และการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นสร้างประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น เเละผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ทุกกลุ่ม ตามปรัชญาการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมภิบาลที่ยึดมั่นมาตลอดระยะเวลากว่า 76 ปี
|
 |
--
|
|
 |
|